PSU Next U : ระเบียบวิธีการวิจัยและการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับระบาดวิทยาทางคลินิก

หลักสูตร non-degree เพื่อ Upskill, Reskill, Newskill

ระเบียบวิธีการวิจัยและการวิเคราะห์ทางสถิติสําหรับระบาดวิทยาทางคลินิก

Research methodology and statistical analysis in clinical epidemiology

รหัสชุดวิชา (Module) : 352-N01
จํานวนหน่วยกิต : 5((1)-8-6)

สนใจสมัคร ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. แจ้งความประสงค์ ให้หลักสูตรตรวจสอบคุณสมบัติผู้เรียน (https://forms.gle/MpubYLR1Ka2TTGyP9)
  2. ได้รับคำยืนยันจากหลักสูตรทางอีเมลล์ (ภายใน 30 ต.ค.2566)
  3. สมัครในระบบ PSU Next U (การเรียนรู้ตลอดชีวิต) ด้วยตนเอง (https://reg.psu.ac.th/psunextu)

คําอธิบายชุดวิชา (Module)

เนื้อหาชุดวิชา

ภาพรวมของระเบียบวิธีวิจัยทางระบาดวิทยาคลินิก การเขียนโครงร่างวิจัย การเขียนแผนการวิเคราะห์การออกแบบเอกสารชี้แจงผู้เข้าร่วมการศึกษาและแบบฟอร์มให้ความยินยอม การออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูล การร่างข้อเสนอโครงการขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การวิเคราะห์ทางสถิติจากข้อมูลจริงของโครงการวิจัย การนําเสนอผลการวิจัยและอภิปรายผล การร่างบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ

Overview of research methods in clinical epidemiology; proposal writing; writing an analysis plan; designing a participant information sheet and an informed consent form; designing study instruments; drafting a proposal for research ethics approval; analysis of real-world data for the research project; presentation and discussion of the study findings; drafting a manuscript for publication in an academic journal

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของชุดวิชา

  1. ประยุกต์ใช้หลักการทางระบาดวิทยาคลินิกและสถิติที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านสุขภาพในการออกแบบงานวิจัยทางคลินิกได้ถูกต้อง
  2. ออกแบบงานวิจัยทางคลินิกที่ตอบปัญหาทางคลินิก และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
  3. จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถแสดงผลอย่างถูกต้องและชัดเจน
  4. เขียนบทความวิจัยได้ถูกต้องตามหลักวิชาการและนําเสนอบทความวิจัยในวารสารวิชาการ

        Learning Outcome

  1. Apply the principles of clinical epidemiology and relevant statistics for designing clinical research for health
  2. Design clinical research that addresses clinical problems reflecting the learners' needs
  3. Manage and analyze data that can be displayed accurately and clearly
  4. Write research articles according to academic principles to be presented in academic journals

สรุปสมรรถนะเด่นที่คาดหวัง
ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการทําวิจัยทางคลินิก โดยมีความรู้และทักษะในการสร้างงานวิจัยทางคลินิกอย่างครบวงจร และนําเสนอผลการวิจัยในวารสารวิชาการเพื่อให้เกิดการนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
แบบผสมชั้นเรียนและออนไลน์ (Hybrid)

กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย
บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสนใจเพิ่มพูนความรู้ทางด้านระบาดวิทยาคลินิก ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยและการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางด้านสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และนักวิจัยทางการแพทย์

อัตราค่าเล่าเรียนของชุดวิชา
1. บุคคลทั่วไป 35,000 บาท
2. บุคลากรภายใต้โครงการที่มี MOU/MOA กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 28,000 บาท

-----------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดการ 

ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อพัฒนาโครงร่างวิจัย

วันที่ 11 - 12 พฤศจิกายน 2566

  • Introduction of and study design in Clinical Epidemiology/Research question/Literature search/Reference management/Sample size calculation
  • Proposal writing: background, methods, conceptual framework, variables, analytic plans

วันที่ 2 - 3 ธันวาคม 2566

  • Proposal writing: data recording or entry preparation/Ethical consideration
  • Finalizing proposal

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

วันที่ 20 - 21 เมษายน 2567

  • Analysis: Clinical prediction model *
  • Analysis: Propensity score matching and analysis *

วันที่ 27 - 28 เมษายน 2567

  • Analysis: Survival analysis *
  • Finalizing analysis and presentation of results

การเขียนบทความทางวิชาการ

วันที่ 8 -9 มิถุนายน 2567

  • Scientific writing, writing results texts
  • Writing introduction abd methods

วันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2567

  • Writing discussion
  • Finalizing draft of manuscript

วันที่ 14 - 15 กันยายน 2567

  • Presentation of mannuscript
  • Presentation of mannuscript

-----------------------------------------------------------------------------------------

ขั้นตอนการสมัครและลงทะเบียนเรียน การเรียนรู้ตลอดชีวิต (PSU NEXT-U)

1.  การสมัครเรียน

  • ผู้ที่สนใจเข้าไปกรอกข้อมูลการสมัครทาง https://reg.psu.ac.th/psunextu
  • เลือกเมนู “สมัครผู้เรียน” ( https://reg.psu.ac.th/psunextu/Register)
  • หลังจากบันทึกข้อมูลการสมัครส าเร็จ ระบบจะส่งข้อมูลรหัสผู้เรียนและ link สำหรับยืนยันการสมัครไปยัง E-mail ที่แจ้งไว้
  • ผู้เรียนเข้า E-mail เพื่อกด link ยืนยันการสมัคร
  • 1 วันหลังยืนยันข้อมูล PSU PASSPORT จะสามารถใช้งานได้ โดยการเข้าใช้งานระบบ ครั้งแรก จะใช้รหัสผู้เรียน และเลขที่บัตรประชาชน และระบบจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสผ่านทันทีผ่านทาง https://passport.psu.ac.th/index.php?content=changepass

2.  การชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียน

  • สามารถชำระเงินค่าลงทะเบียนผ่านทาง https://reg.psu.ac.th/psunextu/Payment โดยกรอกข้อมูลดังนี้
    1) ข้อมูลรหัสผู้เรียน และกดปุ่มตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบรหัสผู้เรียน
    2) ภาค/ปีการศึกษา
    3) จำนวนเงิน
  • จากนั้นระบบจะแสดง QR CODE สำหรับชำระเงิน โดยนำ QR CODE ไปชำระเงินผ่านแอพพลิเคชันของธนาคาร (หากชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนไปแล้วจะไม่มีการคืนเงินในทุกกรณี)

3. การลงทะเบียนเรียน

  • หลังจากชำระเงินแล้ว ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนผ่านทาง https://reg.psu.ac.th/psunextu
  • ลงทะเบียนเรียนที่เว็บ https://psunext.psu.ac.th เข้าสู่ระบบโดย PSU PASSPORT
  • ตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนผ่านทาง https://psunext.psu.ac.th เลือกเมนูผลการลงทะเบียนเรียน

4. การตรวจสอบผลการเรียน

  • ผู้เรียนสามารถตรวจสอบผลการเรียนผ่านทาง https://psunext.psu.ac.th โดยเลือกเมนูผลการเรียน

5.  การขอใบรับรองผลการศึกษา (Transcript)

  • สามารถขอเอกสารรับรองผลการเรียน (Transcript) ผ่านทาง https://reg.psu.ac.th/regcertificate_digital/ เข้าสู่ระบบโดยใช้ PSU PASSPORT โดยอัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยกำหนด

FIND US

Department of Epidemiology

6th Floor, Administrative Building,
Faculty of Medicine, Prince of Songkla University,
15 Kanjanavanich Road, Hat Yai,
Songkhla 90110 Thailand
Tel: +66 (0)74-451165-6
Fax: +66 (0)74-429754,
E-mail: ltippawa@hotmail.com , cvirasak@gmail.com

Develope and design by Wisnior.Co.,Ltd.